บทที่5

แบบฝึกหัดก่อนเรียน
1.  จุดที่ตัดกันระหว่างแถวและคอลัมน์  เรียกว่า
     ก.  Space
     ข.  Cell
     ค.  Indent
     ง.  Tab
2.  ประโยชน์ของการสร้างตาราง  คือข้อใด
     ก.  พิมพ์ข้อมูลได้มากขึ้น
     ข.  สามารถใช้ในการคำนวณได้
     ค.  แบ่งแยกย่อยงานได้ชัดเจน
     ง.  นำเสนอตารางข้อมูลที่สวยงาม
3.  การสร้างตารางทำได้กี่วิธี
     ก.  2  วิธี
     ข.  3  วิธี
     ค.  4  วิธี
     จ.  5  วิธี
4.  ถ้าต้องการสร้างตารางที่มีขนาดใหญ่มาก  ๆ ควรสร้างด้วยวิธีใด
     ก.  สร้างโดยใช้คำสั่ง
     ข.  สร้างโดยการใช้ผู้วิเศษ
     ค.  สร้างโดยการใช้ปุ่ม  Insert  Table
     ง.  สร้างโดยการวาด
5.  การกดปุ่ม  <Tab>  ในตาราง  หมายถึง
     ก. เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ที่อยู่ถัดไป
     ข.  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ก่อนหน้า
     ค.  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์แรกในแถวที่มีเคอร์เซอร์อยู่
     ง.  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์สุดท้ายในแถวที่มีเคอร์เซอร์อยู่
6.  การแทรกเซลล์แบบ  Shift  Cells  Right  หมายถึง
     ก.  เลื่อนเซลล์ที่เลือกไว้ออกไปทางด้านขวา
     ข.  เลื่อนเซลล์ที่เลือกไว้ออกทางด้านล่าง
     ค.  แทรกทั้งแถว
     ง.  แทรกทั้งคอลัมน์
7.  การลบเซลล์ในตารางแบบ  Delete  Entire  Column  หมายถึง
     ก.  เลื่อนเซลล์ที่อยู่ทางด้านขวาในแถวเดียวกันมาแทนที่เซลล์ที่จะลบ
     ข.  เลื่อนเซลล์ที่อยู่ทางด้านล่างในคอลัมน์เดียวกันมาแทนที่เซลล์ที่จะลบ
     ค.  ลบคอลัมน์ทั้งหมดที่เลือกไว้ออกจากตาราง
     ง.  ลบคอลัมน์ซึ่งมีเซลล์ที่เลือกไว้ออกทั้งคอลัมน์
8.  ขั้นตอนแรกของการพิมพ์ข้อความลงในตาราง  คือ 
     ก.  คลิกเมาส์เลือกเซลล์ที่จะพิมพ์ข้อความ
     ข.  ระบายแถบสีดำบริเวณเซลล์ที่จะพิมพ์ข้อความ
     ค.  ดับเบิลคลิกที่เซลล์ที่ต้องการพิมพ์ข้อความ
     ง.  กดปุ่ม ตัวหนอน  ที่แป้นพิมพ์
9.  การตกแต่งตารางอย่างรวดเร็ว  สามารถทำได้โดย
     ก.  ใช้คำสั่ง  Quick
     ข.  ใช้คำสั่ง  Table  Auto  Format
     ค.  ผู้วิเศษ  (Wizard)
     ง.  ถูกทุกข้อ
10.  การใส่สีพื้นให้กับตารางมีวัตถุประสงค์เพื่อ
      ก.  ให้ตารางสวยงามขึ้นมาก
      ข.  เพื่อเน้นข้อความให้เด่นชัด
      ค.  เพื่อให้ผู้อ่าน  อ่านตารางได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
       ง.  ถูกทุกข้อ

หน่วยที่  5 การทำงานกับตาราง
รู้จักตาราง
                ตารางประกอบไปด้วย  2  ส่วน  คือ  แถวและคอลัมน์  จุดที่ตัดกันระหว่างแถวและคอลัมน์  คือ  เซลล์  ซึ่งแต่ละเซลล์จะใช้ใส่ข้อความหรือตัวเลข  นอกจากนี้ยังอาจใส่ภาพหรือสูตรเพื่อคำนวณจากข้อมูลที่อยู่ในเซลล์อื่น ๆ ได้เช่นกัน

                ใน  Word  จะแถบเครื่องมือ  Tables  and  Borders   (ตารางและเส้นขอบ)  ซึ่งใช้ทำงานตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ในตาราง  โดยต้องสั่งแสดงแถบเครื่องมือนี้เองด้วยการคลิกที่ปุ่ม        บนแถบเครื่องมือ  Standard   หรือคลิกขวาที่แถบเครื่องมือใด    แล้วคลิกที่  Table  and  Border  (ตารางและเส้นขอบ)

                1. วาดตารางเพื่อแบ่งเซลล์
                2.  ลักษณะเส้น
                3.  ยางลบใช้ลบเส้นแบ่งตาราง
                4.  น้ำหนักเส้น
                5.  สีเส้นขอบ
                6.  เส้นขอบ
                7.  สีพื้น
                8.  แทรกตาราง
                9.  รวมเซลล์
                10.  แยกเซลล์
                11.  จัดข้อความให้ชิดด้านใด
                12.  กระจายแถวให้สม่ำเสมอ
                13.  รูปแบบตารางอัตโนมัติ
                14.  กระจายคอลัมน์ให้สม่ำเสมอ
                15.  เปลี่ยนทิศทางของข้อความ
                16.  เรียงจากน้อยไปหามาก
                17.  เรียงจากมากไปหาน้อย
                18.  หาผลรวมอัตโนมัติ
การสร้างตาราง
                สร้างตารางด้วยการวาด
                การสร้างตารางด้วยวิธีนี้  จะเหมือนกับการวาดรูป  คือ  ใช้วิธีขีดลากเมาส์เพื่อให้ได้ขนาดและ
จำนวนเซลล์ในตาราง  เวลาวาดให้เริ่มจากการวาดเส้นขอบนอกของตารางเสียก่อน  แล้วจึงลากเส้นในตาราง  เพื่อแบ่งเป็นแถวหรือคอลัมน์ย่อยอีกทีหนึ่ง  ดังนี้
                1.  คลิกที่ปุ่ม  Tables  and  Borders (ตารางและเส้นขอบ) 
                2.  คลิกที่ปุ่ม  Draw  Table  (วาดตาราง)
                3.  คลิกลากให้ได้กรอบสี่เหลี่ยม  เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการ  ปล่อยเมาส์
                4.  แบ่งตารางออกเป็นแถวหรือคอลัมน์ย่อย    ด้วยการคลิกลากจากขอบด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้าม  แล้วปล่อยเมาส์
                5.  เมื่อสร้างเสร็จ  ให้กด  <Esc>  หรือปุ่ม  Draw  Table  (วาดตาราง)  ซ้ำอีกครั้ง
                สร้างตารางจากปุ่ม  Insert  Table  (แทรกตาราง)
                บนแถบเครื่องมือมาตรฐานจะมีปุ่ม   Insert  Table  (แทรกตาราง)  เพื่อใช้เป็นทางลัดสำหรับสร้างตารางที่มีขนาดเท่ากัน  ทุกเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว

                1.  คลิกเมาส์ในตำแหน่งที่จะสร้างตาราง
                2.  คลิกปุ่ม   Insert  Table 
                3.  เลื่อนเมาส์ ไปทางขวาหรือลงล่างบนตารางเล็ก    เพื่อเลือกจำนวนแถวและคอลัมน์ตามที่ต้องการ  แล้วคลิกเมาส์
§  ถ้าจำนวนแถวและคอลัมน์ให้เลือกน้อยเกินไป  ให้คลิกเมาส์จากในช่องที่มีให้เลือกแล้ว
ลากเลยช่องตารางออกไป  จะปรากฏช่องตารางให้เลือกเพิ่มขึ้น  ให้ปล่อยเมาส์ตรงขนาดตารางที่ต้องการ
§  ในขณะที่ทำขั้นตอนที่  3   นั้น  ถ้าเปลี่ยนใจไม่ต้องการจะสร้างตารางก็ให้เลื่อนเมาส์ไป
คลิกนอกตารางเล็ก    เหล่านั้น หรือกดปุ่ม  <Esc> 
สร้างตารางด้วยคำสั่ง
                การสร้างตารางด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับตารางที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ซึ่งสามารถระบุจำนวนแถวหรือคอลัมน์ตามที่ต้องการได้ตั้งแต่แรกเลย  และกำหนดความกว้างของแต่ละคอลัมน์ไปพร้อมกันได้

                1.  คลิกในตำแหน่งที่จะสร้างตาราง
                2.  เลือกเมนู  Table      Insert        Table 
                3.  ระบุจำนวนคอลัมน์ในช่อง  Number  of  columns
                4.  ระบุจำนวนแถวในช่อง  Number  of  Row
                5.  กำหนดความกว้างของคอลัมน์  โดย
§  Fixed  column  width  (ความกว้างของคอลัมน์คงที่)  ระบุความกว้างที่แน่นอนในช่องด้าน
หลัง  ถ้าเป็น  Auto  (อัตโนมัติ)  ก็จะแบ่งความกว้างเท่ากันทุกคอลัมน์
§  AutoFit  to  contents  (ปรับพอดีอัตโนมัติกับเนื้อหา)  กว้างเท่ากับเนื้อหาในเซลล์
§  AutoFit  to  window  (ปรับพอดีอัตโนมัติกับหน้าต่าง)  กว้างเท่ากับวินโดวส์ของเว็บบราว
เซอร์  ถ้าขนาดวินโดวส์ของบราวเซอร์เล็กลง  ขนาดของตารางก็จะเล็กลงโดยอัตโนมัติ
                6.  คลิกปุ่ม  OK
กรอกข้อมูลและเลื่อนเคอร์เซอร์ในตาราง
                เมื่อสร้างตารางแล้ว  จะกรอกข้อมูลในเซลล์แรกของตารางได้เลย  เมื่อกด  <Enter>  เคอร์เซอร์ก็จะยังคงอยู่ในเซลล์นั้น  และขึ้นย่อหน้าใหม่ให้แทน  ทำให้แถวหรือเซลล์นั้นสูงขึ้นตามไปด้วย  ถ้าจะเลื่อนไปที่เซลล์อื่น ๆ  ให้ใช้ปุ่มต่าง    ดังนี้


กดปุ่ม
ผลลัพธ์
<Tab>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ถัดไป และสร้างแถวใหม่เมื่ออยู่เซลล์ท้ายสุด
<Shift> + <Tab>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ที่อยู่ก่อนหน้า
<Ctrl>> + <Tab>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยัง Tab  ที่ตั้งไว้ในเซลล์นั้น
หรือ
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ที่อยู่ด้านบนหรือล่าง
<Alt> + <Home>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์แรกในแถวที่เคอร์เซอร์อยู่
<Alt> + <End>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์สุดท้ายในแถวที่เคอร์เซอร์อยู่
<Alt> + <PgUp>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ที่อยู่บนสุดในคอลัมน์ที่เคอร์เซอร์อยู่
<Alt> + <PgDn>
เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์สุดท้ายในคอลัมน์ที่เคอร์เซอร์อยู่


เลือกเซลล์  แถวหรือคอลัมน์
                การทำคำสั่งใด ๆ กับตาราง  เช่น  ปรับขนาดของแต่ละแถว  หรือก็อบปี้หลาย    คอลัมน์  จะต้องเลือกเซลล์เพื่อระบุขอบเขตว่าต้องการให้ทำกับแถวหรือคอลัมน์ใดเสียก่อน
                เลือกเซลล์เดียว
                1.  เลื่อนเมาส์ไปบริเวณด้านหน้าเซลล์ที่จะเลือกให้เมาส์เปลี่ยนรูป           แล้วคลิกเมาส์
                เลือกกลุ่มเซลล์
                1.  คลิกเมาส์ที่เซลล์แรกค้างไว้
                2.  ลากเมาส์ไปยังเซลล์อื่นที่ต้องการเลือกจนครบค่อยปล่อยเมาส์
                เลือกแถว             
                1.  เลื่อนเมาส์ไปทางซ้ายนอกตาราง  จนเมาส์เปลี่ยนเป็น
                2.  คลิกลากเมาส์ขึ้น-ลง  ให้เกิดแถบดำคลุมทุกแถวที่ต้องการ  ปล่อยเมาส์
                เลือกคอลัมน์
                1.  เลื่อนเมาส์ไปที่ด้านบนของตาราง  จนเมาส์เปลี่ยนเป็น        แล้วคลิกค้างไว้
                2.  คลิกลากเมาส์ขึ้น-ลง  ให้เกิดแถบดำคลุมทุกแถวที่ต้องการ  ปล่อยเมาส์
                เลือกทั้งตาราง
§  เลื่อนเมาส์ไปเหนือตารางให้ปรากฏเครื่องหมาย         ที่มุมซ้ายบนแล้วคลิกเครื่องหมายนั้น
§  หรือเลือกคำสั่ง  Table         Select          Table
§  หรือใช้วิธีการเลือกเซลล์ เลือกแถว  หรือเลือกคอลัมน์เพื่อเลือกทั้งตารางก็ได้
ปรับขนาดตาราง
                ตารางที่สร้างด้วยคำสั่ง  Table        Insert  Table  หรือจากปุ่ม   Insert  Table  นั้น    ทุก    เซลล์จะถูกกำหนดให้มีขนาดเท่า ๆ กัน  โดยมีความกว้างรวมทั้งตารางเท่ากับระยะกั้นหน้า หลังของย่อหน้านั้น  สามารถจะเปลี่ยนขนาดของตารางเซลล์แถวหรือคอลัมน์ได้ใหม่
                ปรับย่อ-ขยายตาราง
                1.  คลิกเมาส์ที่จุดปรับขนาด  ที่มุมขวาล่างของตาราง
                2.  คลิกลากเมาส์ให้ได้ขนาดที่ต้องการแล้วปล่อยเมาส์
                ปรับความกว้างของคอลัมน์
                1. เลื่อนเมาส์ไปที่เส้นแนวของตารางทางด้านขวาของคอลัมน์หรือเซลล์ที่ต้องการปรับขนาด  สัญลักษณ์ของเมาส์จะเปลี่ยนเป็น
                2.  คลิกลากเมาส์ไปทางซ้าย-ขวา  จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วปล่อยเมาส์
                ปรับความสูงของแถว
                การปรับความสูงของแต่ละแถวไม่สามารถปรับความสูงของเซลล์ใด ๆ ให้สูงกว่าเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ในแถวเดียวกัน  ดังนั้นเมื่อปรับแล้วจะมีผลให้ทุก ๆ เซลล์ในแถวนั้นสูงเท่ากันหมด
                1.  เลื่อนเมาส์ไปที่เส้นแนวของตารางด้านล่างของแถวที่จะปรับความสูง  จนเมาส์เปลี่ยนเป็นรูป
                2.  คลิกลากเมาส์ขึ้นหรือลงเพื่อปรับความสูงของแถวตาที่ต้องการ
                ปรับแถวและคอลัมน์ให้เท่ากัน
                ถ้าจะปรับแถวหรือคอลัมน์ให้เท่ากัน  ก็อาจคลิกปุ่ม  Distribute  Rows  Evenly  (กระจายแถวให้สม่ำเสมอ)  และ  Distribute  Columns  Evenly  (กระจายคอลัมน์ให้สม่ำเสมอ)    จะทำให้ปรับขนาดได้รวดเร็ว  โดยทำดังนี้
                1.  เลือกกลุ่มเซลล์  แถว  หรือคอลัมน์ที่ต้องการปรับขนาด
§  ถ้าจะปรับทุกแถวหรือทุกคอลัมน์ให้คลิกในตาราง
                2.  คลิกปุ่ม  Distribute  Rows  Evenly  (กระจายแถวให้สม่ำเสมอ)  เพื่อปรับทุกแถวที่เลือกให้มีขนาดเท่ากัน
                3.  คลิกปุ่ม  Distribute  Columns  Evenly  (กระจายคอลัมน์ให้สม่ำเสมอ)  เพื่อปรับทุกคอลัมน์ที่เลือกให้มีขนาดเท่ากัน

เพิ่มแถวหรือคอลัมน์
                การเพิ่มแถวหรือคอลัมน์  อาจใช้ปุ่ม  Draw  Table  (วาดตาราง)  วาดแบ่งแถวหรือคอลัมน์ที่มีอยู่เดิมออกเป็น  2  แถวหรือคอลัมน์  ตามที่เคยแสดงให้ดูในเรื่องการสร้างตาราง  หรือจะเพิ่มโดยใช้คำสั่งหรือวิธีอื่นก็ได้เช่นกัน  ดังนี้
                เพิ่มแถวทีละแถว
                1.  คลิกเมาส์ที่ท้ายแถว  (นอกตาราง) 
                2.  กด  <Enter>  เพื่อเพิ่มแถว
                3.  กด  <Enter >  หรือ  <Tab>  ที่ท้ายแถวสุดท้ายเพื่อเพิ่มแถวต่อจากแถวสุดท้าย
                เพิ่มทีละหลายแถว
                1.  คลิกเลือกทั้งแถวให้เท่ากับจำนวนที่จะเพิ่ม
                2.  คลิกขวาแล้วเลือก  Insert  Row
§  หรือคลิกปุ่ม  Insert  Row   (แทรกแถว)
§  หรือเลือก  Table         Insert        Rows  Above  เพื่อเพิ่มแถวเหนือแถวที่เลือก
§   หรือเลือก  Table         Insert        Rows  Below  เพื่อเพิ่มแถวใต้แถวที่เลือก
                เพิ่มทีละหลายคอลัมน์
                1.  คลิกเลือกทั้งคอลัมน์ให้เท่ากับจำนวนคอลัมน์ที่จะเพิ่ม
                2.  คลิกขวาแล้วเลือก  Insert  Columns (แทรกคอลัมน์)
§  หรือคลิกปุ่ม   Insert  Columns
§  หรือคลิกปุ่ม  Insert  Columns         Column  to the  left  เพื่อเพิ่มคอลัมน์ด้านซ้ายของ
คอลัมน์ที่เลือกไว้
§  เลือกคอลัมน์  Table          Insert        Column to  the  right  เพื่อเพิ่มคอลัมน์ด้านขวาของ
คอลัมน์ด้านขวาของคอลัมน์ที่เลือกไว้
เพิ่มเซลล์
                1.  คลิกเซลล์ในตำแหน่งที่ต้องการแทรกเซลล์ หรือเลือกเซลล์เท่ากับจำนวนที่จะเพิ่ม
                2.  คลิกปุ่ม  Insert  Cells  (แทรกเซลล์)
                3.  เลือกว่าจะแทรกเซลล์อย่างไร  และทำอย่างไรกับเซลล์เดิมที่มีอยู่
§  Shift  cells  right  (เลื่อนเซลล์ไปทางขวา)  เลื่อนเซลล์ที่เลือกออกไปทางด้านขวา  เพิ่ม
เฉพาะเซลล์นั้น
§  Shift  cells  down  (เลื่อนเซลล์ลง)  เลื่อนเซลล์ที่เลือกลงข้างล่าง  เพิ่มใหม่ทั้งแถว  เหมือน
ข้อ  Entire  Row
§  Insert  entire  row  (แทรกทั้งแถว)  แทรกทั้งแถวเหมือนข้อ  Shift  cells  down
§  Insert  entire  column  (แทรกทั้งคอลัมน์)  แทรกทั้งคอลัมน์

ลบแถวหรือคอลัมน์
                การลบแถวจะเป็นการลบแถวหรือคอลัมน์ของตาราง  พร้อมทั้งข้อมูลที่มีอยู่ออกไป
                1.  คลิกลากเมาส์ที่หัวแถวหรือหัวคอลัมน์  เพื่อเลือกแถวหรือคอลัมน์ที่จะลบ
                2.  คลิกขวา  แล้วเลือก  Delete  Rows  เพื่อลบแถว
§  หรือ  Delete  Column  เพื่อลบคอลัมน์  แล้วแต่ว่าในขั้นตอนที่  1  เลือกแถวหรือคอลัมน์
ไว้ก่อนการลบเฉพาะข้อมูลในตาราง  ให้เลือกข้อความ  เซลล์หรือเลือกทั้งแถวหรือคอลัมน์ไว้ก่อน  แล้วจึงกดปุ่ม  <Delete>  ข้อความในเซลล์  แถว  หรือคอลัมน์ที่เลือกไว้จะถูกลบไป  แต่ตารางยังคงอยู่
ลบเซลล์
                1.  เลือกเซลล์หรือกลุ่มเซลล์ที่ต้องการลบ
                2.  คลิกขวาแล้วเลือก  Delete  Cells  (ลบเซลล์)
                3.  คลิกเลือกออปชั่นว่าจะทำอย่างไรกับเซลล์ที่เหลือ
§  Shift  Cells  left  (เลื่อนเซลล์ไปทางซ้าย)  เลื่อนเซลล์ที่อยู่ถัดไปด้านขวาในแถวเดียวกันมา
แทนเซลล์ที่ลบ  (ตารางแถวนั้นจะสั้นลง)
§  Shift  Cells  up  (เลื่อนเซลล์ขึ้น)  เลื่อนเซลล์ที่อยู่ด้านล่างในคอลัมน์เดียวกันแทนเซลล์ที่
ลบ  (ตารางจะมีขนาดเท่าเดิม   เพราะทุกคอลัมน์ต้องยาวเท่ากัน)
§  Delete  entire  row  (ลบทั้งแถว)  ลบแถวที่เลือกเซลล์ไว้ออกทั้งแถว
§  Delete  entire  column  (ลบทั้งคอลัมน์)  ลบคอลัมน์ที่เลือกเซลล์ไว้ออกทั้งคอลัมน์
                4.  คลิกปุ่ม  OK
รวมเซลล์และแยกเซลล์
                รวมเซลล์ด้วยปุ่ม  Eraser  (ยางลบ)
                1.  คลิกปุ่ม  Eraser  บนแถวเครื่องมือ  Table  and  Borders  (ตารางและเส้นขอบ) 
                2.  เมาส์เปลี่ยนเป็นรูป             ให้คลิกลากเมาส์ไปตามเส้นแนวตาราง  แล้วปล่อยเมาส์  ข้อมูลในเซลล์ที่ถูกลบเส้นแนวตารางไป  จะถูกนำไปรวมกับเซลล์ที่อยู่ติดกันโดยอัตโนมัติ

                รวมเซลล์ด้วยคำสั่ง  Merge  cells
                1.  เลือกกลุ่มเซลล์ที่จะรวม
                2.  คลิกขวาบนเซลล์ที่เลือกไว้  แล้วเลือก  Merge  Cells  (ผสานเซลล์)
§  หรือคลิกปุ่ม    Merge  Cells  (ผสานเซลล์)

                1.  คลิกเมาส์ในเซลล์ที่จะแยก
                2.  คลิกขวาในเซลล์นั้น  แล้วเลือก  Split  Cells  (แยกเซลล์)
§  หรือคลิกปุ่ม   Split  Cells (แยกเซลล์)
                3.  ระบุจำนวนคอลัมน์ที่จะแบ่ง  ถ้าเป็น  1  หมายถึงไม่แบ่ง
                4.  ระบุจำนวนแถวที่จะแบ่ง  ถ้าเป็น  1  หมายถึงไม่แบ่ง
                5.  คลิกปุ่ม  OK
                แยกเซลล์ด้วยปุ่ม  Draw  Table  (วาดตาราง)
                1.  คลิกปุ่ม  Draw  Table  (วาดตาราง)  บนแถบเครื่องมือ  Table  and  Borders  (ตารางและเส้นขอบ) 
                2.  เลื่อนเมาส์ไปที่ช่องตารางที่ต้องการแบ่ง  แล้วคลิกลากวาดแบ่งตารางออกมา
ตกแต่งตารางให้สวยงาม
                แต่งตารางอย่างรวดเร็ว  AutoFormat
                สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นกับงานออกแบบ  อาจใช้   AutoFormat  ช่วยตกแต่งตารางในตอนเริ่มต้นก่อนแล้วค่อยปรับแก้ในภายหลัง  ก็จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น
                1.  คลิกเมาส์ที่เซลล์ใด    ในตาราง
                2.  เลือกคำสั่ง  Table          Table  AutoFormat  (รูปแบบตารางอัตโนมัติ)  บนแถบเครื่องมือ  Table  and  Borders  (ตารางและเส้นขอบ) 
                3.  คลิกรูปแบบของตารางจากช่อง   Format  (ลักษณะตาราง)  ซึ่งตัวอย่างของรูปแบบนั้นจะแสดงไว้ด้านล่าง
                4.  คลิกปุ่ม  Apply  (นำไปใช้)  เมื่อเลือกรูปแบบที่ต้องการได้แล้ว
                ตกแต่งเส้นตารางด้วยการขีดและลาก
                1.  คลิกปุ่ม  Draw  Table   (วาดตาราง)  บนแถบเครื่องมือ  Table  and  Borders  (ตารางและเส้นขอบ) 
                2.  คลิกลูกศรปุ่ม  Line  Style  (ลักษณะเส้น)  แล้วเลือกรูปแบบเส้นตาราง
                3.  คลิกลูกศรปุ่ม  Line  Weight  (น้ำหนักเส้น)  แล้วเลือกความหนาเส้นตาราง
                4.  คลิกปุ่ม  หลังปุ่ม  Border  Color  (สีเส้นขอบ)  แล้วคลิกเลือกสีของเส้น
                5.  เลื่อน        ไปที่เส้นตารางเดิม  คลิกลากให้ได้ควายาวตามต้องการแล้วปล่อยเมาส์
§  ถ้าไม่ลากทับบนเส้นแนวตารางเดิม  จะกลายเป็นการแบ่งแถวหรือคอลัมน์แทน
                6.  ได้เส้นตารางที่มีสี  ความหนา  และแบบตามที่ตั้งไว้ในข้อ  1-4
                7.  กดปุ่ม  <Esc>  หรือคลิกซ้ำที่ปุ่ม  Draw  Table  (วาดตาราง)
                ตีเส้นด้วยปุ่ม 
                สำหรับตารางที่มีขนาดใหญ่  การตีเส้นตารางด้วยการขีดและลาก  (หัวข้อก่อนหน้านี้)  อาจจะไม่สะดวก  อาจตีเส้นโดยใช้ปุ่ม       แทน  ดังนี้
                1.  คลิกลากเมาส์ให้คลิกเซลล์ที่ต้องการปรับรูปแบบของเส้นใหญ่
                2.  คลิกเลือกแบบ  ความหนา  และสีของเส้น
                3.  คลิกปุ่มลูกศรของปุ่ม       (ชื่อปุ่มจะเปลี่ยนไปตามการเรียกใช้ครั้งล่าสุด)
                4.  คลิกปุ่มเพื่อวาดหรือลบเส้นในด้านต่าง    ของเซลล์ที่ถูกเลือก  ตามรูปของปุ่มนั้น
                ใส่สีพื้นหลังให้ตาราง
                การใส่สีพื้นนั้นมักจะใส่ในแถวที่เป็นหัวแถวของตาราง  หรือใช้แทนการตีเส้น  โดยการใส่สีพื้นอ่อนแก่ในแถวเว้นแถว  หรือคอลัมน์เว้นคอลัมน์  ทำให้อ่านข้อมูลได้สะดวกขึ้น
               
                1.  เลือกกลุ่มเซลล์  แถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการใส่สีพื้น  ด้วยการคลิกเมาส์ให้คลุม
                2.  คลิกลูกศรข้างปุ่ม    Shading  Color  (สีแรเงา)  แล้วคลิกเลือกสีจากชุดสีที่แสดง
                จัดข้อความให้อยู่ในแนวตั้ง
                1.  คลิกเมาส์ในเซลล์ที่ต้องการจัดข้อความใหม่
                2.  คลิกปุ่ม  Change  Text  Direction  (เปลี่ยนทิศทางของข้อความ)  ที่แถบเครื่องมือ  Table  and  Borders  (ตารางและเส้นขอบ)
§  ปุ่ม  Change  Text  Direction  (เปลี่ยนทิศทางของข้อความ)  จะเปลี่ยนหน้าตาเป็น 
และเมื่อลองคลิกอีกครั้ง  ข้อความในเซลล์นั้นจะตะแคงไปอีกด้านหนึ่ง  และถ้าคลิก    อีกครั้งจะกลับมาอยู่ในแนวนอนตามเดิม
                จัดตำแหน่งข้อความในเซลล์
                ข้อมูลที่อยู่ในเซลล์สามารถจะจัดให้อยู่กึ่งกลางเซลล์  หรือชิดกับขอบด้านใดก็ได้  ดังนี้
                1.  เลือกเซลล์  แถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการจัดวางข้อความใหม่
                2.  คลิกที่ปุ่ม        ของปุ่ม     แล้วเลือกรูปแบบการจัดตำแหน่งที่ต้องการ
                ย้ายตาราง
                ตารางที่สร้างสามารถใช้เมาส์ลากย้ายไปวางตำแหน่งใดก็ได้  และถ้าย้ายไปไว้ในย่อหน้าที่มีข้อความอยู่  ก็สามารถจัดข้อความที่อยู่รอบ    ให้ล้อมตารางนั้นในแบบต่าง    ดังนี้
                1.  คลิก       ที่มุมซ้ายบนของตาราง
                2.  คลิกแล้วลากไปปล่อยในตำแหน่งอื่น 
                3.  ข้อความที่อยู่รอบ    จะจัดเรียงกันใหม่
สร้างตารางซ้อนในตาราง
                Word  ตั้งแต่รุ่น  2000  ขึ้นมาจนถึง  2003  ได้เพิ่มความสามารถในการสร้างเอกสารซ่อนอยู่ภายในตารางอีกทีหนึ่ง    โดยที่ตารางที่ซ้อนอยู่ในตารางจะมีคุณสมบัติเหมือนกับตารางภายนอกทุกอย่าง  โดยวิธีการสร้างก็เหมือนกับการสร้างตารางทั่วไป  ดังนี้
                1.  คลิกเมาส์ในเซลล์ที่ต้องการสร้างตารางไว้ภายใน
                2.  คลิกปุ่ม  Insert  Table  (แทรกตาราง)  แล้วเลือกจำนวนตารางภายในตามต้องการ  ก็จะได้ตารางที่ซ่อนอยู่ภายในตาราง  ซึ่งสามารถตกแต่งได้เหมือนตารางปกติทั่วไป
คำนวณคำในตาราง
                ตารางใน  Word  นอกจากจะใส่ข้อมูลแล้ว  ยังสามารถใส่สูตรทำการบวก  ลบ  คูณ  หาร  หาค่าผลรวม  หรือค่าเฉลี่ยของข้อมูลในเซลล์ต่าง    ได้ดังนี้
                1.  คลิกเซลล์ที่ใช้เก็บค่าผลรวม  โดยต้องอยู่ใต้หรือทางขวาของเซลล์ทั้งหมดที่จะนำค่ามาคำนวณ
                2.  คลิกปุ่ม  AutoSum  (ผลรวมอัตโนมัติ)  บนแถบเครื่องมือ  Table  and  Borders 
                3.  จะได้ผลรวมของข้อมูลในเซลล์ที่อยู่เหนือหรือทางด้านซ้ายของเซลล์ที่เลือกไว้ทั้งหมด
                ข้อมูลที่ได้นี้เป็นฟีลด์ที่  Word  ใส่มาให้  เป็นผลจากการคำนวณตามสมการหรือสูตรของฟีลด์นี้เอง  ไม่ใช่เป็นค่าคงที่  อาจสั่งให้คำนวณค่าในเซลล์นี้ใหม่เมื่อข้อมูลในเซลล์ใด    ที่นำค่ามาคำนวณมีค่าเปลี่ยนไป  โดยการเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ตัวเลขผลรวม  ซึ่งจะเกิดแถบสีเทาล้อมรอบ  หรือคลิกเลือกให้เป็นแบบสีดำ  แล้วกดปุ่ม  Auto Sum  อีกครั้ง  จะมีการคำนวณตามสูตรเดิมในเซลล์นั้นใหม่
                แต่ถ้าต้องการใส่สูตรที่ซับซ้อนให้เลือกคำสั่ง  Table          Formula  แล้วใส่สูตรในช่อง  Formula
หรือเลือกช่อง  Paste  Function   ซึ่งมีฟังก์ชั่นการคำนวณต่าง ๆ เตรียมไว้ให้แล้ว
การเรียงลำดับข้อมูลในตาราง  (Sort)
                ข้อมูลในตารางสามารถจะเรียงลำดับใหม่โดยใช้คอลัมน์หนึ่ง    หรือหลาย    คอลัมน์เป็นหลักในการจัดเรียงได้  ดังนี้

                การจัดเรียงแบบคอลัมน์เดียว
                1.  คลิกเมาส์ในเซลล์ของคอลัมน์ที่ต้องการจัดเรียง  เช่น  เรียงตามคอลัมน์
                2.  คลิกปุ่ม  Sort  Ascending  (เรียงจากน้อยไปหามาก)  หรือ  Sort  descending  (เรียงจากมากไปหาน้อย)
                การจัดเรียงแบบหลายคอลัมน์
                1.  คลิกเมาส์ในเซลล์ของคอลัมน์ที่จะใช้เป็นหลักในการจัดเรียง  เช่น  เรียงตาม  ที่ตั้ง
                2.  เลือก   Table          Sort 
                3.  ข้อมูลในแถวแรกหรือหัวแถวของทุก    คอลัมน์จะแสดงในช่อง  Sort  by  เพื่อให้เลือกว่าจะเรียงตามคอลัมน์ใดเป็นหลัก  ถ้าไม่เลือกคอลัมน์ไว้ในขั้นที่    1  ก็ให้เลือกคอลัมน์ที่ใช้เป็นหลักที่นี่ก็ได้  ถ้าจะจัดเรียงโดยใช้มากกว่าหนึ่งคอลัมน์ 
                4.  ระบุประเภทข้อมูลในคอลัมน์นั้นว่าเป็น  Text  , Number  หรือ  Date  (ถ้าข้อมูลในคอลัมน์นั้นเป็นวันที่)
                5.  ระบุวิธีจัดเรียงข้อมูล  คือ  Ascending  (เรียงจากน้อยไปหามาก)  จะเรียงจากน้อยไปหามากหรือ  Descending  (เรียงจากมากไปหาน้อย)  จะเรียงจากมากไปหาน้อย
                6.  เลือก  Header  row  (แถวหัวเรื่อง)  ถ้าข้อมูลในแถวแรกเป็นชื่อของแต่ละคอลัมน์ไม่ต้องนำมาจัดเรียงด้วยหรือเลือก  No  header  row  (ไม่มีหัวเรื่อง)  คือไม่มีชื่อคอลัมน์ให้นำข้อมูลในแถวแรกมาจัดเรียงด้วย
                7.  คลิกปุ่ม  OK  ข้อมูลจะถูกจัดเรียงใหม่ตามคอลัมน์ที่เลือกไว้

                การจัดตำแหน่งตาราง
                1.  คลิกเมาส์ในตาราง
                2.  คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง  Table  Properties 
                3.  คลิกแท็บ   Table 
                4.  ในส่วนของ  Text  Wrapping  (การตัดข้อความ)  ให้เลือก  Around  (ล้อมรอบ)  เพื่อกำหนดให้ข้อความล้อมรอบตาราง
§  ถ้าต้องการยกเลิก  คือ  ให้ข้อความอยู่เฉพาะบนและล่างของตาราง  ให้เลือก  None
                5.  เลือกตำแหน่งการจัดวางในส่วนของ  Alignment  (การจัดตำแหน่ง)  ว่าต้องการให้ตารางอยู่ชิดซ้าย  ขวา  หรือตรงกลางของหน้ากระดาษ
                6.  คลิกปุ่ม  OK
แปลงตารางเป็นข้อความ
                ในกรณีที่สร้างตารางเก็บรายการข้อมูลไปแล้ว  ต้องการยกเลิกตารางและให้ข้อมูลที่อยู่ในตารางแสดงผลแบบย่อหน้า  หรือแบ่งเป็นรายการแท็บ  สามารถทำได้ดังนี้
                1.  คลิกในตารางที่ต้องการแปลง
                2.  เลือก  Table           Covert        Table  to  Text
                3. เลือกว่าจะแบ่งข้อความจากแต่ละช่องเดิมในตารางด้วยตัวแบ่งใด
§  Paragraph Marks  แบ่งข้อความโดยใช้เครื่องหมายย่อหน้า
§  Tabs  แบ่งข้อความด้วยตำแหน่งแท็บ
§  Commas  แบ่งปันข้อความแต่ละคอลัมน์โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค
§  Other  กำหนดเครื่องหมายอื่น    สำหรับแบ่งข้อความเอง
แปลงข้อความเป็นตาราง
                ในทางกลับกันสามารถแปลงข้อความทั่วไปให้เป็นตารางได้  โดยคำสั่ง  Table        Covert         Text  to  Table  โปรแกรมก็จะแปลงข้อความให้อยู่ในรูปของตารางแทน  ทำได้ดังนี้
                1.  เลือกข้อความที่ต้องการแปลงเป็นตาราง
                2.  เลือก  Table          Covert        Text  to  Table  และกำหนดออปชั่นการแปลงเป็นตารางดังนี้
§  Table  Size  (ขนาดตาราง)  กำหนดขนาดของตาราง
-  Number  of  column  ระบุจำนวนคอลัมน์  (หากข้อมูลมีการแบ่งมาแล้วด้วยแท็บหรือย่อ
หน้ามาแล้วโปรแกรมจะคำนวณคอลัมน์ให้อัตโนมัติ)
-  Number  of  Rows  ระบุจำนวนแถว
§  AutoFit  behavior  (รูปแบบการจัดพอดีอัตโนมัติ)  เลือกการจัดพอดีอัตโนมัติในตาราง
-  Fixed  Column  width  ให้ความกว้างของคอลัมน์คงที่
-  AutoFit  to  Contents  ปรับพอดีอัตโนมัติกับเนื้อหา
-  AutoFit  to  Window  ปรับพอดีอัตโนมัติกับหน้าต่าง
§  Separate  text  at  (แบ่งข้อความที่)  เลือกว่าข้อความที่นำมาแปลงเป็นตารางนั้นถูกแบ่งมา
ด้วยตัวแบ่งใด
                3.  คลิกปุ่ม  OK
การแยกตาราง 
                การแยกตารางในที่นี้หมายถึง  การแบ่งตารางเดิมออกมาเป็นตารางใหม่  โดยแยกการแสดงผลเป็น  2  ตาราง  ที่เป็นอิสระจากกัน
                1.  คลิกในแถวของตารางที่ต้องการแยก
                2.  เลือก  Table         Split  Table  (ตาราง        แยกตาราง)   

แบบฝึกหัดหลังเรียน
1.  จุดที่ตัดกันระหว่างแถวและคอลัมน์  เรียกว่า
     ก.  Space
     ข.  Cell
     ค.  Indent
     ง.  Tab
2.  ประโยชน์ของการสร้างตาราง  คือข้อใด
     ก.  พิมพ์ข้อมูลได้มากขึ้น
     ข.  สามารถใช้ในการคำนวณได้ 
     ค.  แบ่งแยกย่อยงานได้ชัดเจน
     ง.  นำเสนอตารางข้อมูลที่สวยงาม
3.  การสร้างตารางทำได้กี่วิธี
     ก.  2  วิธี
     ข.  3  วิธี
     ค.  4  วิธี
     จ.  5  วิธี
4.  ถ้าต้องการสร้างตารางที่มีขนาดใหญ่มาก  ๆ ควรสร้างด้วยวิธีใด
     ก.  สร้างโดยใช้คำสั่ง
     ข.  สร้างโดยการใช้ผู้วิเศษ
     ค.  สร้างโดยการใช้ปุ่ม  Insert  Table
     ง.  สร้างโดยการวาด
5.  การกดปุ่ม  <Tab>  ในตาราง  หมายถึง
     ก. เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ที่อยู่ถัดไป
     ข.  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์ก่อนหน้า
     ค.  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์แรกในแถวที่มีเคอร์เซอร์อยู่
     ง.  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังเซลล์สุดท้ายในแถวที่มีเคอร์เซอร์อยู่
6.  การแทรกเซลล์แบบ  Shift  Cells  Right  หมายถึง
     ก.  เลื่อนเซลล์ที่เลือกไว้ออกไปทางด้านขวา
     ข.  เลื่อนเซลล์ที่เลือกไว้ออกทางด้านล่าง
     ค.  แทรกทั้งแถว
     ง.  แทรกทั้งคอลัมน์
7.  การลบเซลล์ในตารางแบบ  Delete  Entire  Column  หมายถึง
     ก.  เลื่อนเซลล์ที่อยู่ทางด้านขวาในแถวเดียวกันมาแทนที่เซลล์ที่จะลบ
     ข.  เลื่อนเซลล์ที่อยู่ทางด้านล่างในคอลัมน์เดียวกันมาแทนที่เซลล์ที่จะลบ
     ค.  ลบคอลัมน์ทั้งหมดที่เลือกไว้ออกจากตาราง
     ง.  ลบคอลัมน์ซึ่งมีเซลล์ที่เลือกไว้ออกทั้งคอลัมน์
8.  ขั้นตอนแรกของการพิมพ์ข้อความลงในตาราง  คือ 
     ก.  คลิกเมาส์เลือกเซลล์ที่จะพิมพ์ข้อความ
     ข.  ระบายแถบสีดำบริเวณเซลล์ที่จะพิมพ์ข้อความ
     ค.  ดับเบิลคลิกที่เซลล์ที่ต้องการพิมพ์ข้อความ
     ง.  กดปุ่ม ตัวหนอน  ที่แป้นพิมพ์
9.  การตกแต่งตารางอย่างรวดเร็ว  สามารถทำได้โดย
     ก.  ใช้คำสั่ง  Quick
     ข.  ใช้คำสั่ง  Table  Auto  Format
     ค.  ผู้วิเศษ  (Wizard)
     ง.  ถูกทุกข้อ
10.  การใส่สีพื้นให้กับตารางมีวัตถุประสงค์เพื่อ
      ก.  ให้ตารางสวยงามขึ้นมาก
      ข.  เพื่อเน้นข้อความให้เด่นชัด 
       ค.  เพื่อให้ผู้อ่าน  อ่านตารางได้ง่ายและชัดเจนขึ้น
       ง.  ถูกทุกข้อ

เว็บที่เกี่ยวข้อง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B3